1 พฤศจิกายน 2554

ไม่ได้เข้ามานานเท่าไหร่แล้วนะ
ไม่ได้ดูเลยด้วยซ้ำว่ามีใครแวะเวียนเข้ามาบ้างไหม
น่าสงสารนะ บล๊อกนี่กลายเป็นแค่ที่ระบายอารมณ์ของคนจิตใจอ่อนไหว
ทั้งๆที่มันสามารถให้คุณค่าได้มากกว่านั้น

แปลกดีเหมือนกัน
ทำไมในวันที่ฉันรู้สึกว่าเรื่องราวมันยุ่งเหยิง และฉันก็คิดว่ามันจะสามารถผ่านไปได้
กลับมามีเรื่องที่ยุ่งเหยิงยิ่งกว่า จนเกิดคำถามว่าฉันยังสามารถผ่านมันไปได้ไหม

เวลาที่เราพูดถึงความสุข เวลาที่เราบอกว่า เรามีความสุขที่สุด
นั่นเพราะเรารู้อยู่แล้วใช่ไหมว่า มันจะจบแค่ความสุขตรงนั้น
ฉันยอมรับ ว่าฉันได้ถลำลึกมากเกินไป
ฉันมัวเมากับความสุขนั้นมากจนเกินขอบเขตที่ตัวเองเคยตั้งไว้
สติที่เคยเตือนฉันอยู่เสมอมันหายไปตอนไหน
ไม่สิ ฉันต่างหากที่เป็นฝ่ายผลักไสมันออกไปเอง

แล้วทันทีที่มีความทุกข์ มันก็เลยถาโถมเข้ามาขนาดนี้
มันก็คงเหมือนมวลน้ำที่ท่วมประเทศเราอยู่มั้ง
มันคงมหาศาลมาก จนคันกั้นน้ำตาของคนๆนึงแตกจนได้
บ้าพอแล้วรึยังเนี้ย

ตอนนี้ฉันพยายามนั่งนึกถึงวันเก่าๆ
วันที่แสนเศร้า ว่าฉันผ่านมันมาได้อย่างไร
ฉันต้องยึดอะไร ฉันต้องคิดยังไง หรือทำยังไงไม่ให้คิด
ฉันเคยผ่านมันมาได้ครั้งนึง
ฉันคงสามารถผ่านมันไปได้อีกทีล่ะน่า

นั่งคิดกับตัวเอง แบบนี้มันเหมือนพระเจ้ากลั่นแกล้ง
ไม่สิ พระองค์คงกำลังทดสอบอะไรบางอย่างอยู่
หากเรามีความเชื่อมากพอ ศรัทธามากพอ เราก็จะสามารถผ่านมันไปได้
ฉันเชื่อในความรักของตัวเองมากน้อยแค่ไหน
ตอนนี้ คงถึงเวลาที่ฉันจะได้พิสูจน์มันแล้วสินะ

Rabi_Angel่mon

วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553

อาการซึมเศร้า แก้ไขได้

 

อาการซึมเศร้า...รักษาได้


ไม่ใช่ปัญหานั่งเครียดอีกต่อไป

      ปัญหาโรคซึมเศร้า เป็นปัญหาที่ตัวผู้ป่วยเองไม่ได้ต้องการให้เกิดขึ้น แต่ด้วยเหตุปัจจัยบางประการ หรือหลายประการที่มีความสำคัญต่อตัวผู้ป่วย อาจเป็นบ่อเกิดของปัญหาอาการซึมเศร้าได้

  การ วินิจฉัยอาการซึมเศร้าของแพทย์ เริ่มต้นจากการพูดคุย การซักถามประวัติถึงอาการทางจิตเวชอื่นที่เคยเกิดขึ้น โรคทางร่างกายหลายโรค และยาบางชนิด อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคซึมเศร้าได้ การวินิจฉัยจึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่สำคัญแพทย์ที่ทำการตรวจต้องอาศัยทักษะในการวินิจฉัยอยู่พอสมควร ส่วนขั้นตอนในการวินิจฉัยโดยทั่วไป เริ่มต้นจาก...

      การ ถามอาการหรือการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่เริ่มมีอาการครั้งแรกไล่มาตามลำดับจนปัจจุบัน ยิ่งผู้ป่วยเล่าอาการต่าง ๆ ที่มีได้อย่างละเอียด เล่าปัญหาที่เกิดขึ้นได้มากเท่าไร แพทย์ก็จะยิ่งเข้าใจผู้ป่วยมากขึ้นเท่านั้น การซักถามในขั้นตอนนี้นอกจากเพื่อดูว่าผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้หรือไม่ แล้ว ยังเพื่อพิจารณาว่าผู้ป่วยอาจเป็นโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับอาการเหล่านี้หรือไม่ ในกรณีที่สงสัยว่าผู้ป่วยอาจมีโรคทางร่างกายอื่น ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของอาการต่าง ๆ ที่พบแพทย์อาจซักประวัติเพิ่มเติมจากญาติหรือผู้ใกล้ชิด เพื่อที่จะได้ทราบเรื่องราวหรืออาการต่าง ๆ ได้ชัดเจนขึ้น เพราะคนรอบข้างอาจสังเกตเห็นอะไรได้ชัดเจนกว่าตัวผู้ที่มีอาการเอง

      ด้าน การรักษา หากได้รับการรักษาผู้ที่เป็นจะอาการดีขึ้นมาก อาการซึมเศร้า ร้องไห้บ่อย ๆหรือรู้สึกท้อแท้หมดกำลังใจ จะกลับมาดีขึ้นจนผู้ที่เป็นบางคนบอกว่าไม่เข้าใจว่าตอนนั้นทำไมจึงรู้สึก เศร้าไปได้ถึงขนาดนั้น ยิ่งหากมารับการรักษาเร็วเท่าไรก็ยิ่งจะอาการดีขึ้นเร็วเท่านั้น การรักษาที่สำคัญ คือการรักษาด้วยยาแก้เศร้า โดยเฉพาะในรายที่มีอาการมาก ส่วนในรายที่มีอาการไม่มาก แพทย์อาจรักษาด้วยการช่วยเหลือชี้แนะการมองปัญหาต่าง ๆในมุมมองใหม่ แนวทางในการปรับตัวหรือการหาสิ่งที่ช่วยทำให้จิตใจผ่อนคลายความทุกข์ใจลง ร่วมกับการให้ยาแก้เศร้าหรือยาคลายกังวลเสริมในช่วงที่เห็นว่าจำเป็น

      วิธีการรักษา ประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักคือ 1. การรักษาด้วยยาการใช้ยาแก้เศร้า เพื่อไปปรับสมดุลสารเคมีในสมองเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก ยาแก้เศร้าช่วยบรรเทาอาการเศร้าเมื่อทานยาจนรู้สึกดีขึ้นแล้ว ควรทานยาต่อไปอีก 6-12 เดือน เพื่อป้องกันอาการกลับมาเป็นซ้ำ และแม้จะรู้สึกสบายดีก็ยังต้องกินยาตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องจากผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามักจะกลับมาป่วยซ้ำหรืออาจมี อาการกำเริบซ้ำได้

      2. การรักษาทางจิตใจมีวิธีรักษาทางจิตใจอยู่หลายรูปแบบ ในการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ซึ่งอาจเป็นการพูดคุยกับจิตแพทย์ อันจะช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจตนเอง สาเหตุที่ทำให้ตนเองเป็นทุกข์ ซึมเศร้า เข้าใจปัญหาและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมในที่สุด

      วิธี การที่พบว่าสามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้ดี มีดังนี้ การรักษาแบบปรับความคิดและพฤติกรรม เชื่อว่าอาการของผู้ป่วยมีสาเหตุจากการมีแนวคิดที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง เพราะบ่อยครั้งที่ทุกข์เพราะความคิดของตัวเองเช่น มองตนเองในแง่ลบ มองสิ่งต่าง ๆ ในแง่ลบ การรักษาจึงมุ่งแก้ไขแนวคิดของผู้ป่วยให้สอดคล้องกับความเป็นจริงมากขึ้น การรักษาแบบปรับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลการรักษามุ่งให้ผู้ป่วยมีการปรับ ตัวต่อสิ่งแวดล้อมและผู้อื่นให้ดีขึ้น การรักษาจิตบำบัดเชิงลึกเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจปมขัดแย้งที่อยู่ในจิตใจ ตนเองจนนำมาสู่โรคซึมเศร้า

ข้อแนะนำที่ช่วยในการส่งเสริมการรักษาอาการซึมเศร้า มีดังต่อไปนี้

      1. การออกกำลังกายการออกกำลังกายนอกจากจะช่วยทางร่างกายแล้ว จิตใจก็ยังจะดีขึ้นด้วย ถ้าได้ออกกำลังกายร่วมกับผู้อื่นด้วยก็จะยิ่งช่วยเพิ่มการเข้าสังคม ไม่ทำให้รู้สึกว่าตนเองโดดเดี่ยว

      2. อย่าคาดหวังหรือตั้งเป้าหมายยากเกินไป ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่เรายังต้องการการพักผ่อนทั้งทางร่างกายและจิตใจ การกระตุ้นตนเองมากไปกลับยิ่งจะทำให้ตัวเองรู้สึกแย่ที่ทำไม่ได้อย่างที่ หวัง

      3.เลือกกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกดี ๆมักจะเป็นสิ่งที่เราเคยชอบ

      4. พยายามทำกิจกรรมที่ทำร่วมกับคนอื่นมากกว่าที่จะอยู่คนเดียว หลักการเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกอย่างหนึ่งก็คือ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นนี้จะไม่คงอยู่ตลอดไป แต่จะขึ้น ๆ ลง ๆ ในแต่ละช่วง คนที่มีความโศกเศร้ามักจะรู้สึกหมดหวัง คิดว่าความรู้สึกนี้จะคงอยู่กับตนเองตลอดเวลา ในความเป็นจริงแล้วจะมีอยู่บางช่วงที่อารมณ์เศร้านี้เบาบางลง ซึ่งจะเป็นโอกาสที่ให้เราเริ่มกิจกรรมที่สร้างสรรค์เพื่อให้มีความรู้สึกที่ ดีขึ้น

      5. อย่าตัดสินเรื่องที่สำคัญต่อชีวิตเช่น การหย่า การลาออกจากงาน ณ ขณะที่เรากำลังอยู่ในภาวะซึมเศร้านี้ การมองสิ่งต่าง ๆ ในแง่ลบอาจทำให้การตัดสินใจผิดพลาดไปได้ ควรเลื่อนการตัดสินใจไปก่อน หากจำเป็นหรือเห็นว่าปัญหานั้น ๆ เป็นสิ่งที่กดดันเราทำให้อะไร ๆ แย่ลงจริง ๆ ก็ควรปรึกษาผู้ใกล้ชิดหลาย ๆ คนให้ช่วยคิด

      6. การแก้ปัญหาให้แยกแยะปัญหาให้เป็นส่วนย่อย ๆการมองปัญหาโดยไม่แยกแยะจะทำให้เกิดความรู้สึกท้อแท้ ไม่รู้จะทำอย่างไร การจัดเรียงลำดับความสำคัญของปัญหาว่า เรื่องไหนควรทำก่อนหลัง แล้วลงมือทำไปตามลำดับโดยทิ้งปัญหาย่อยอื่น ๆ ไว้ก่อน วิธีนี้จะพอช่วยให้รู้สึกว่าตนเองยังทำอะไรได้อยู่

ข้อแนะนำในการดูแลสำหรับญาติ มีดังนี้

      1. รับฟังด้วยความเข้าใจ ใส่ใจอารมณ์ของผู้ป่วยที่มีความอ่อนไหวมาก และหลายครั้งเข้าใจยาก การรับฟังอย่างเข้าใจ โดยไม่ตัดสินจะช่วยให้ความรู้สึกของผู้ป่วยดีขึ้นที่มีคนพร้อมจะเข้าใจตัว เขาอย่างแท้จริง

      2. ชวนคุยบ้างด้วยท่าทีที่สบาย ๆพร้อมที่จะช่วยเหลือ โดยไม่กดดัน ไม่คาดหวัง ไม่คะยั้นคะยอว่าต้องพูดคุยโต้ตอบได้มาก เพราะท่าทีที่คาดหวังมากจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแย่ที่ทำให้ญาติผิดหวัง

      3. เปิดโอกาสให้ได้ระบายความคิดความรู้สึกที่ไม่ดี ที่รู้สึกแย่ต่าง ๆ ออกมา โดยเฉพาะความคิดอยากฆ่าตัวตาย การที่ผู้ป่วยได้พูดได้ระบายออกมาจะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดในใจลงได้ อย่างมาก

      โรค นี้ไม่ได้อาการดีขึ้นทันทีที่กินยา การรักษาต้องใช้เวลาบ้าง ส่วนใหญ่จะเป็นสัปดาห์ อาการจึงจะดีขึ้นอย่างเห็นชัด จึงไม่ควรคาดหวังจากผู้ป่วยมากเกินไป การรักษาด้วยยามีความสำคัญ ควรช่วยดูแลเรื่องการกินยา โดยเฉพาะในช่วงแรกที่ผู้ป่วยยังซึมเศร้ามาก หรืออาจมีความคิดอยากตาย การตัดสินใจในช่วงนี้จะยังไม่ดี ควรให้ผู้ป่วยเลี่ยงการตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ๆ ไปก่อนจนกว่าจะเห็นว่าอาการเขาดีขึ้นมากแล้ว

      เมื่อ ได้รู้จักโรคซึมเศร้ากันแล้ว จะเห็นว่าโรคซึมเศร้าไม่ได้เป็นแค่อารมณ์ซึมเศร้าเท่านั้น แต่หากเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและครอบครัว และหากปล่อยทิ้งไว้ไม่บำบัดรักษา อาจนำมาสู่ปัญหาการทำงานและการดำเนินชีวิต และบางรายอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ ดังนั้นหากพบหรือสงสัยว่าตนเองและคนใกล้ชิดของคุณป่วยด้วยโรคซึมเศร้า อย่าได้นิ่งนอนใจ ควรพามาปรึกษาแพทย์ เพราะหากได้รับการบำบัดรักษาอย่างถูกต้อง ด้วยวิธีที่เหมาะสม คุณและคนใกล้ตัวก็สามารถจะใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขต่อไป.







ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

Update 22-03-53

อัพเดทเนื้อหาโดย : วีระ วานิชเจริญธรรม
credit:  http://www.thaihealth.or.th/node/14699


วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553

มารายงานตัวค่ะ

สวัสดีค่ะ

ดีใจจังเลย ที่แม้ไม่ได้เขียนอะไรเพิ่มเติม ยังมีคนน่ารักๆเข้ามาเยีียมเยียน
shoutbox ถูกเอาออกไปด้วยอารมณ์ชั่ววูบ
เอากลับมาไม่เป็นซะด้วย เสียใจจริงๆ
พอรู้ว่ามีคนมาเยี่ยมบ้าง ก็เลยอารมณ์ดี ทำอะไรดีๆซะหน่อยดีกว่า
เผื่อใครแวะเข้ามาอีก จะได้มีอะไรให้อ่านบ้าง
เลยมาเขียนรายงานตัวแระกัน

ช่วงนี้ไม่ค่อยได้ว่างเลย
เตรียมตัวสอบค่ะ ตั้งใจมากๆ
ช่วงที่ผ่านมา แม้จะมีเรื่องราวมากมายเกิดขึ้น
แต่ตอนนี้ก็สามารถผ่านมันมาได้
ถือว่า เป็นคนที่จิตใจเข้มแข็งพอสมควร
ก็หวังว่า สิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อคนรอบข้าง
ให้เขามีจิตใจที่เข้มแข็งมากขึ้น
ให้เขาได้ผ่านพ้น ช่วงเวลาแย่ๆของชีวิต
มาพบวันใหม่ที่ดี

เวลาที่คนเราเจอเรื่องแย่ๆมามาก
พอเจอสิ่งที่ดี แม้เพียงเล็กน้อย ก็ถือว่าเป็นสิ่งสุดล้ำค่า
เหมือนเวลาเราหิวมากๆ
ขนมปังแม้เพียงก้อนเล็ก ก็สามารถทำให้เรายิ้มได้ไม่มีหุบ
พยายามเป็นสิ่งที่ดีค่ะ
ทำสิ่งดีๆให้คนที่คุุณรัก ไม่ใช่เรื่องที่ยากเย็นเลย
แม้คุณไม่หวังผลตอบแทนจากสิ่งที่ทำไป
แต่ความพอใจ อิ่มใจที่เขาได้จากคุณ
แค่นั้นก็ทำให้คุณเป็นสุขได้แล้ว

สิ่งที่จำเป็นสำหรับความสัมพันธ์ที่เปราะบาง
นั่นก็คือ ความไว้ใจซึ่งกันและกัน เชื่อใจกัน
เท่านั้น คนสองคนก็ผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆไปได้ค่ะ

ถ้ามีเวลาจะเข้ามารายงานตัวอีกนะคะ

วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ความเข้าใจที่ไม่ลงตัว

วันนี้อยากจะขอพูดเรื่องของความเข้าใจ
บนโลกนี้มีความเข้าใจแค่สองด้าน คือ
เข้าใจ ไม่เข้าใจ
เข้าใจถูก เข้าใจผิด...

คนเราจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจอะไร
มันจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของอะไรสักอย่าง
ถ้าคุณมี basic background ของเรื่องๆนั้น
คุณจะเข้าใจมันได้ทะลุปรุโปร่ง
ในขณะที่เรื่องที่คุณไม่เคยแม้แต่จะได้ยินมาก่อน
คุณก็จะงงเป็นไก่ตาแตก ว่านี่คุณกำลังฟังภาษามนุษย์ต่างดาวรึเปล่า

และพื้นฐานนั้นแหละ ที่ทำให้เกิดความเข้าใจที่ถูกและผิด
พื้นฐานนนั้น ก็คือ อคติ ทิฐิ ความลำเอียง
หรืออะไรก็ตามที่คุณจะให้คำจำกัดความของมัน
เมื่อเรามีอคติกับอะไรสักอย่าง ความเข้าใจของเราจะผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปหมด
เรามองเห็นวัตถุได้จากการที่แสงตกกระทบแล้วสะท้อนเข้าตาเรา
แต่เราจะเข้าใจสิ่งต่างๆได้เมื่อประสาทสัมผัั้สกระทบสิ่งเหล่านั้นมายังใจเรา
อคติทำให้ภาพต่างๆที่สะท้อนความจริงมาสู่ใจเปลี่ยนไป ตามที่ใจคิด
ที่ฉันรู้ เพราะฉันก็เคยเป็น

อคติทำให้เรามองสิ่งรอบตัวแย่ไปหมด
อคติทำให้เราสร้างศัตรูได้มากกว่าผูกมิตร
ฉันเคยมองคนๆนึงด้วยอคติที่มีในใจ
ในตอนนั้น ในความรู้สึกฉัน ฉันไม่ได้มองเขาในแง่ดีเลยสักนิด
ทุกวันนี้เลยรู้สึกเสียใจมากๆ เพราะได้กระทำสิ่งที่แย่ๆลงไป
ตอนนี้คงกลับไปแก้ไขอะไรไม่ได้
ฉันไม่รู้ว่าความรู้สึกของคนเราจะซ่อมแซมได้ไหม
ถ้าได้ ฉันก็อยากจะขอเริ่มต้นใหม่

ฉันอยากจะทำความเข้าใจคนๆนั้น ในแบบที่เป็นเค้า 
ไม่ใช่ในแบบที่ฉันจินตนาการให้เค้าเป็น
ฉันเชื่อว่าความสัมพันธ์ที่ดี ไม่มีคำว่าสาย
และหวังว่าเขาคงเข้าใจฉันในสักวัน